ที่มาที่ไปของโลก “ทุนนิยม” ในทุกวันนี้ น่าจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงราวศตวรรษที่ 16 หรือ 17 โดยน่าจะมีจุดกำเนิดมาจากการติดต่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนำโดยสองมหาอำนาจในยุคนั้น คือ อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ วันนี้พี่ทุยจะพามาไขข้อสงสัยว่าทำไม แนวคิด “ทุนนิยม” จะทำให้อนาคตของเราดีกว่านี้
โดยสรุปแล้ว ทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลหรือบริษัทเอกชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และทรัพยากรที่เป็นทุน มีเสรีภาพในการผลิตและการค้า รูปแบบที่บริสุทธิ์ของโลกทุนนิยมคือ ตลาดเสรี ที่มองไปยังอนาคต นวัตกรรมใหม่ ๆ การขยายขอบเขต และความอุดมสมบูรณ์ที่มากขึ้น
ทุนนิยมจึงเป็นเหมือนระบบที่ให้สัญญากับเราว่า “อนาคตที่สดใสกำลังรอเราอยู่”
คำสัญญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของระบบทุนนิยม คือ ในแต่ละเจเนอเรชั่นจะเติบโตขึ้นจากการต่อยอดจากคนยุคก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากกลไกโดยธรรมชาติของตลาดเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ทำให้ตลาดทั้งหลายบนโลกทุนนิยมถูกขับเคลื่อนด้วยจิตวิทยาที่ว่าด้วย เราทำงานเพื่อดำรงชีพ แต่ในขณะเดียวกันก็หวังว่ามันจะนำมาซึ่งอนาคตที่ดีกว่า ไม่ว่าจะด้วยประสบการณ์และทักษะที่มากขึ้น รวมถึงการออมเงิน อย่างที่ John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ เปรียบไว้ว่ามันคือ “เวทย์มนต์” ของดอกเบี้ยทบต้นที่เกิดจากการพัฒนาของเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป และจะช่วยให้เราเกษียนจากการทำงานได้ในที่สุด
ไม่เพียงแค่เฉพาะตัวเราเท่านั้น ผู้คนยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ในที่นี้ไม่ใช่เพียงแค่การนำเงินไปลงทุน แต่หมายถึงการลงทุนสร้างโอกาสให้กับลูกหลาน โดยหวังว่าจะให้พวกเขามาชีวิตที่ดียิ่งกว่า ฉะนั้นแล้วศัตรูที่ใหญ่ที่สุดของทุนนิยม ไม่ใช่สังคมนิยม แต่เป็น “การมองเห็นโลกที่ขุ่นหมอง” ต่างหาก
ปัจจุบันระบบทุนนิยมกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1. รายได้ที่เติบโตชะลอลงจากการทำงานเพื่อเกษียณ
จากการศึกษาของ Michael Carr และ Emily Weimers ชี้ให้เห็นว่าโอกาสของชนชั้นกลางที่จะขยับฐานรายได้ไปสู่ยอดพีระมิดลดลงถึง 20% ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต้นทุนชีวิตมีน้อยมาก เรื่องราวของประธานบริษัทที่ไต่เต้ามาตั้งแต่ทำงานในห้องเอกสาร คงจะไม่ได้มีให้เห็นกันบ่อย ๆ อีกแล้วต่อจากนี้ ไม่เพียงแต่รายได้ที่โตช้ากว่ายุคก่อน แรงงานบางส่วนยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของรายได้ที่อาจถูกกระทบจากปริมาณงานที่ไม่แน่นอน
2. โอกาสที่ลดลงของเด็กยุคใหม่
จากตัวอย่างของชาวอเมริกัน 9 ใน 10 คน ที่เกิดในปี 1940 สร้างเนื้อสร้างตัวจนรวยกว่าพ่อแม่ได้ในที่สุด แต่สำหรับผู้ที่เกิดในปี 1980 ตัวเลขนี้ลดลงเหลือเพียง 50% ทั้ง ๆ ที่พ่อแม่ของคนยุคนี้ต้องเผชิญกับภาวะถดถอยของเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Depression)
3. ปัญหาสภาพอากาศที่หยั่งรากลึกจากการส่งเสริมทางอ้อม
ผู้ที่ใช้ ระบบทุนนิยม ทุกวันนี้เราจึงเห็นการพยายามลดปัญหาดังกล่าว อย่างการเก็บภาษีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมกระทบต่อคำสัญญาที่ทุนนิยมให้ไว้ว่าอนาคตที่ดีกว่ากำลังรอเราอยู่ (ในแง่ของตัวเงิน)
John Maynard Keynes เคยทำนายไว้ในปี 1930 ว่า ภายในหนึ่งศตวรรษนับจากนี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจจะหมดไป (ปัจจุบันเหลือเวลาอีกแค่ 10 ปี) อิงจากการสำรวจของมหาวิทยาลัย Harvard ชี้ว่า 51% ของคนยุค Millennials ของสหรัฐอเมริกา ไม่สนับสนุนระบบทุนนิยมอีกแล้ว แต่เมื่อประเทศใดก็ตามที่ต้องการจะเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าขายระหว่างประเทศ ดูเหมือนว่าทุนนิยมก็ยังคงเป็นระบบหลักที่ยึดถือกันอยู่ในทุกวันนี้แต่คำถามสำคัญที่ตามมาคือ
ถ้าไม่ใช่ระบบทุนนิยม แล้วโลกควรจะถูกขับเคลื่อนด้วยระบบอะไร?
เมื่อปี 2012 Richard D Wolff อดีตอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัย Massachusetts ได้เผยแพร่บทความผ่าน The Guardian ในชื่อว่า ‘ใช่แล้ว! มันมีทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่ทุนนิยม, Mondragon คือคำตอบ’
Mondragon คือบริษัทที่ตั้งอยู่ในเมืองบาสก์ เป็นวิสาหกิจสหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จุดเด่นของ Mondragon คือ คนงานประมาณ 80 – 85% ที่ทำงานในแต่ละวิสาหกิจภายใต้ Mondragon จะได้เป็นเจ้าของร่วม และกำหนดทิศทางร่วมกันสำหรับวิสาหกิจของตนเอง ในครั้งถัดไปเราจะมาดูกันว่า Mondragon จะเป็นทางเลือกในการทดแทนระบบทุนนิยมได้จริงหรือไม่ และอะไรคือหัวใจของความสำเร็จของแนวคิดนี้…
Comments