top of page

ทางเลือก “ลงทุนต่างประเทศ” ผ่านกองทุนรวม


การ “ลงทุนต่างประเทศ” ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจโดยเฉพาะในบางช่วงเวลาที่ตลาดบ้านเราไม่เป็นใจ ถ้าให้พี่ทุยยกตัวอย่างก็คือถ้าใครซื้อกองทุนรวม SET50 ที่เป็นกองทุนรวมดัชนี (Passive Fund) แถว ๆ ปี 2013 SET Index เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 1,650 จุด แล้วจากนั้นกว่าจะกลับไปสูงใหม่อีกรอบก็ปาเข้าไป ปลายปี 2017 หรือพูดง่าย ๆ ว่าเราต้องซื้อกองทุนนี้มากกว่า 5 ปี กว่ากองทุนจะเห็นผลกำไร แถมช่วงกลางปี 2018 SET บ้านเราก็ลงมาแถว ๆ 1650 อีกรอบ

แล้วถ้ามองไปที่ตลาดหุ้นต่างประเทศ อย่างประเทศอเมริกาเป็นขาขึ้นตลอดในช่วง 5 ปี เรียกว่าซื้อเมื่อไหร่ตรงไหนก็กำไร หรืออย่าง ประเทศจีนที่เกิดวิกฤตตอนปี 2015 แต่ก็ปรับตัวกลับขึ้นมาได้เร็วกว่าตลาดอื่น ๆ จะเห็นว่าถ้าเราลงทุนแต่ตลาดทุนในประเทศกว่าจะกำไรบางช่วงบางตอนต้องรอถึง 5 ปีเลยทีเดียว


ถ้าจะให้เราไปเปิดบัญชีซื้อขาย เพื่อ “ลงทุนต่างประเทศ” แล้วไปซื้อเอง กว่าจะหาข้อมูลหุ้นเจอกว่าจะแลกเงินเสร็จนู้นนั่นพี่ทุยว่าเราไม่ได้ซื้อกันพอดี บอกเลยว่าปวดหัว (ฮ่า) พี่ทุยเลยแนะนำว่าถ้าใครอยากจะเริ่มต้นลงทุนในต่างประเทศให้ลองลงทุนผ่าน


แต่ถ้าเราที่เป็นนักลงทุนรายย่อยลงทุนเองไปลงทุนตรงผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ พี่ทุยว่าก็ยังทำได้อย่างอยู่ดี พี่ทุยเลยแนะนำว่าให้ใช้กองทุนรวมในประเทศเนี้ยแหละ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่ในประเทศเราจะเป็น FIF หรือ Fund of Fund คือกองทุนรวมที่ไปลงทุนในกองทุนรวมอีกทีนึง โดยกองทุนรวมในไทยจะไปคัดเลือกหากองทุนรวมที่ลงทุนอยู่ในประเทศต่าง ๆ แทน


เวลาที่เลือกว่ากองทุนรวมไหนเป็นกองทุนรวมที่ดี พี่ทุยแนะนำว่าให้ดูกองทุนหลัก (Master Fund) ที่กองทุนรวมไปเลือกลงทุนดีที่สุดว่าเป็นอย่างไร วิธีการดูข้อมูลว่ากองทุนรวมในประเทศไปลงทุนในกองทุนรวมไหน ก็สามารถดูได้จาก Fund Fact Sheet เนี่ยแหละจะมีข้อมูลทุกอย่างอยู่แล้ว จากนั้นเราก็เอาชื่อกองทุนหรือว่าจะเป็นเลข ISIN ของกองทุนรวมนั้น ๆ ไปหาใน Morningstarได้เหมือนกัน ไม่ต่างจากการคัดเลือกกองทุนในประเทศเลย


แต่สิ่งที่ต้องระวังมากขึ้นก็คือเรื่องของ “อัตราแลกเปลี่ยน” ว่ามีการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) หรือไม่ แล้วส่วนใหญ่กองทุนรวมก็จะมีต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงด้วย อีกเรื่องนึงที่ต้องสนใจก็คือ “ค่าธรรมเนียม” ส่วนใหญ่แล้ว FIF จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าปกติเพราะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับกองทุกหลัก (Master Fund) อีกต่อด้วย


อย่างไรก็ตามเราสามารถเข้าไปดูผลตอบแทนย้อนหลังระหว่าง “กองทุนหลัก” และ FIF แล้วดูว่าแตกต่างกันขนาดไหน ถ้ากองทุนนั้นมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงแบบ 100% (Fully Hedging) ความห่างของกราฟนั้นก็คือ ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงและค่าธรรมเนียมนั่นเอง

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page