top of page
รูปภาพนักเขียนinvestcorner1

“กองทุน” ที่เคยลงทุนมันเสี่ยงไปมั้ย ?



แอดมินอยากให้เราจินตนาการถึงตอนที่เราจะซื้อสินค้า เวลาเราจะซื้อของทั้งทีเราก็จะหาข้อมูลเปรียบเทียบกันแทบตาย อย่าง เช่น เวลาซื้อรถยังเทียบแล้วเทียบอีกจะเอา Camry Accord หรือ Teana ดีน้าาาาาอะไรแบบนี้ กองทุน ก็เช่นกัน

แน่นอนเวลาจะลงทุนก็ไม่ต่างอะไรกับที่เราซื้อของหรอก เราจ่ายเงินออกจากกระเป๋าเราไปเพื่อแลกกับอะไรบางอย่าง  เราก็ต้องเปรียบเทียบเช่นกัน คำถามที่น่าสนใจต่อก็คือถ้าเราจะเปรียบเทียบการลงทุนเราควรจะเอาอะไรมาวัดดีล่ะ ? ว่าอันไหนดีกว่า เวลาซื้อก็ต้องอยากได้ของที่ดีที่สุดอยู่แล้ว จริงมั้ย ?

พี่ทุยชอบยกตัวอย่าง กองทุน ละกัน เพราะมันใกล้ตัวและเข้าใจง่ายที่สุดแล้วล่ะ ลองนึกถึง กองทุนรวมหุ้น ก็มีหลายกองทุนให้เราเลือกลงทุนแล้วกองไหนที่มันดีกว่ากองอื่นๆหรือผลประกอบการโดดเด่น ไหนจะของแบงค์นู้น หลักทรัพย์นี้ เยอะไปหมด

หลายคนอาจจะคิดว่า แอดมิน มันจะยากอะไรเล่าา ก็เลือกกองที่ผลตอบแทนที่ดีสุด มันก็ต้องดีที่สุดสิ ก็อยากจะบอกว่าก็ไม่ผิดหรอกแน่นอนว่า ทุกคนก็อยากได้ผลตอบแทนที่ดี แต่มันจะได้ดีแบบนี้ตลอดเลยหรือเปล่าละ ก็ไม่รู้ไง ไม่รู้ว่า ฟลุ๊คอะเป่าาาาาาาาาาาา

วันนี้พี่ทุยขอนำเสนอทางเลือกที่ดีกว่าเราจะมาวัดกันแค่เรื่องของผลตอบแทนกันนั้นก็คือ !! “Sharp Ratio”


“Sharp Ratio คือ ผลตอบแทน หารด้วย ความเสี่ยง”

พี่ทุยว่าเราคงคุ้นเคบกับคำว่าผลตอบแทนคงรู้จักกันดีนะ แต่เรื่องของความเสี่ยงอาจจะเบลอๆงงๆว่ามันคืออะไร เรามาดูกันดีกว่าว่าความเสี่ยงของการลงทุนใน “กองทุนรวม” คืออะไร

ความเสี่ยงในที่นี้ก็คือ “ความผันผวนของราคา” ง่ายกว่านั้นคือ ราคามันขึ้นลง เยอะไหม ราคามันสวิงเยอะไหม ราคาเหวี่ยงเยอะมั้ย ? นี่แหละที่เรียกว่าความเสี่ยงจากการลงทุนเพราะถ้าใครเริ่มลงทุนจะรู้ว่า ราคากองทุนรวมไม่ “ขึ้น” เป็นอย่างเดียวมัน “ลง” เป็นด้วยเหมือนกัน

แบบบางครั้งลงได้รุนแรงเหลือเกิ๊นนนนน โดยค่าความเสี่ยงอันนี้จะถูกวัดด้วย “Standard Deviation” หรือภาษาไทยแบบไทยๆ “ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน” จะเป็นตัวบอกว่า ราคามันมีความผันผวนมากน้อยขนาดไหน ยิ่งน้อยก็ยิ่งดีตามหลักสถิติ ป.1 (ป.1 เราเรียนยากแบบนี้เลยเหรอ ฮ่าๆ)

ลองมาดูตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ “Sharp Ratio” กันให้มากขึ้นดีกว่าสมมติว่า กองทุนรวม A ให้ผลตอบแทนที่ 20% ต่อปี กองทุนรวม B ให้ผลตอบแทนที่ 10% ต่อปี

ถ้าเราดูแค่นี้ กองทุนรวม A ก็คงดูน่าสนใจมากกว่า แต่อย่างที่พี่ทึยบอกเราต้องห้ามลืมดูเรื่องของความเสี่ยงประกอบกันด้วย ถ้าสมมติต่อให้….

กองทุนรวม A ค่าความเสี่ยงเท่ากับ 30% กองทุนรวม B ค่าความเสี่ยงเท่ากับ 10%

พอดูที่พระเอกของเรา “Sharp Ratio” กองทุนรวม A Sharp Ratio เท่ากับ 0.67 กองทุนรวม B Sharp Ratio เท่ากับ 1

พอดูแบบนี้แล้วกองทุนรวม B ก็ออกมาดูน่าสนมากขึ้นเพราะค่าความเสี่ยงที่น้อยกว่าแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่ผลตอบแทนจะขึ้นลงแรงๆก็น้อยตามไปแต่ถ้ามันมากแสดงว่า เรามีโอกาสที่ผลตอบแทนจะเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่นกัน

นี่แหละที่เรียกว่า “ความเสี่ยง” !!! จบดื้อ ๆ แบบนี้นี่แหละ 5555 บ๊ายยยยยยยย 

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page