top of page

HOW TO ลงทุนอย่างไร “ได้ทั้งเก็บเงินก้อน และ ลดหย่อนภาษี


วันนี้ แอดมิน ก็ขออาสามาแนะนำตัวช่วยดี ๆ ที่จะมาช่วยเก็บเงินก้อนให้ประสบความสำเร็จ และยังช่วยลดหย่อนภาษีในปีนี้ได้อีกด้วย จะมีอะไรกันบ้างเราไปดูกันเลย

1."เก็บเงินด้วยกองทุน LTF"

กองทุน LTF เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น สัดส่วนไม่น้อยกว่า 65% ของกองทุน ถ้าใครไม่เก็ทว่าเป็นยังไง ลองดูรายชื่อกองทุนครับ กองทุนไหนทีมีคำว่า "LTF" กองทุนนั้น คือ กองทุน LTF สำหรับระยะเวลาในการลงทุน ผู้ซื้อกองทุน LTF ต้องถือกองทุนเป็นระยะเวลา 7 ปีขึ้นไป ถึงจะขายคืนเพื่อรับเงินได้ 

ส่วนในการใช้ลดหย่อนภาษีเราสามารถใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาทครับผม

👉 ข้อดี : เป็นการลงทุนระยะยาวและลงทุนในหุ้น ผลตอบแทนย่อมมากกว่าการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ หรือฝากประจำ

👉 ข้อด้อย : จะซื้อกองทุน LTF ก็ต้องศึกษาเกี่ยวกับกองทุน LTF ให้เข้าใจด้วยครับ ว่าการลงทุนย่อมีความเสี่ยง และถ้าเลือกกองทุนที่ performance ไม่ดี ถึงแม้จะลงทุนระยะยาวก็มีความเสี่ยงในการขาดทุนได้ครับ


2."เก็บเงินด้วยกองทุน RMF"

กองทุน RMF คือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เน้นการลงทุนเพื่อเก็บเป็นเงินก้อนไว้ใช้ยามเกษียณ โดยจะมีความคล้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเอกชน และบำเหน็จบำนาญของรัฐบาลเหมาะกับเพื่อน ๆ ที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือบำเหน็จบำนาญ หรืออาจจะต้องการเงินเพิ่มจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือบำเหน็จบำนาญ

โดยกองทุน RMF สามารถขายได้เมื่ออายุมากกว่า 55 ปี ถึงจะไม่ผิดเงื่อนไขของการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

👉 ข้อดี : กองทุน RMF เป็นการลงทุนที่ต้องลงทุนต่อเนื่อง ทำให้เราได้เพิ่มโอกาสจากการรับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยทบต้น เหมาะสำหรับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเก็บเงินเกษียณ และสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้

👉 ข้อด้อย : ต้องถือกองทุนนาน เพราะขายกองทุนได้เมื่ออายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ถึงจะไม่ผิดเงื่อนไขของการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

3. "เก็บเงินด้วยประกันชีวิต"

ประกันชีวิตเป็นการป้องกันความเสี่ยง ช่วยเก็บเงิน เพื่อตัวเอง หรือคนข้างหลัง (หากเราเสียชีวิต) และสร้างความมั่นคงให้ชีวิตมากขึ้น โดยเบี้ยประกันภัยที่เราส่งในแต่ละปี สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ไม่เกิน 100,000 บาท

ประกันชีวิตมีหลายประเภทด้วยกันครับ แต่ที่จะแนะนำสำหรับการเก็บเงิน จะมี 3 แบบครับ


 🔥ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

ประกันภัยประเภทนี้จะคุ้มครองผู้เอาประกันภัย โดยจะจ่ายเงินคืนเมื่อครบสัญญาตามเวลาที่กำหนด เช่น 10 ปี 20 ปี (ตามแต่เราเลือก) หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาประกัน บริษัทจะจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์แทน เหมาะกับผู้ที่ต้องการเก็บเงินก้อนและการคุ้มครองชีวิตไปพร้อมๆ กัน

👉 ข้อดี : สามารถเลือกระยะสัญญาตามที่เราต้องการได้ เป็นการเก็บเงิน ที่มีการันตีว่าเมื่อครบสัญญา เราจะได้รับเงินก้อนเท่าไหร่ ไม่มีความเสี่ยงจากการขาดทุนเหมือนการบงทุน

👉 ข้อด้อย : เงินที่ได้จากประกันสะสมทรัพย์ เมื่อเทียบกับการลงทุน อาจจะได้น้อยกว่าครับ



🔥 ประกันชีวิตแบบบำนาญ

ประกันชีวิตประเภทนี้จะจ่ายเงินหลังจากการเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปีเป็นต้นไป เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ (งวดรายเดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี) เป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 85 ปี หรือจนกว่าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต และถ้าระหว่างที่เราส่งเบี้ยประกัน เกิดเสียชีวิตก่อนหรือระหว่างรอครบสัญญารับเบี้ยบำนาญ ก็จะได้รับเงินความคุ้มครองครับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตและเงินสะสมไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ

👉 ข้อดี : มีการันตีจำนวนเงินที่จะได้หลังเกษียณแน่นอน ตามจำนวนที่เราระบุไว้กับสัญญาในประกัน สามารถรับเงินได้เมื่อเกษียณอายุเสมือนเป็นเงินเดือน

👉 ข้อด้อย : เบี้ยที่ได้รับเป็นรายงวดจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเบี้ยที่เราส่งในสัญญาด้วย ถ้าอยากได้เงินใช้เยอะ ก็ต้องส่งเบี้ยสูงตามไปด้วย


🔥 ประกันชีวิต แบบ Unit Linked

ประกันชีวิตแบบ Unit Linked เป็นประกันชีวิตที่ควบการลงทุนไปด้วยครับ นอกจากจะเป็นการซื้อประกันชีวิตแล้ว ยังเป็นการลงทุนในกองทุนรวมอีกด้วย แต่ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นคนบริหารการลงทุนเอง รับผิดชอบความเสี่ยงและผลขาดทุนด้วยตัวเอง เหมาะกับผู้ที่อยากได้การคุ้มครองจากประกันชีวิต และต้องการโอกาสในการรับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนไปพร้อม ๆ ครับ

👉 ข้อดี : ประกันชีวิตแบบนี้จะวงเงินคุ้มครองสูง และเรามีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนที่เราเลือกเองครับ

👉 ข้อด้อย : เพราะเป็นประกันชีวิตที่ควบการลงทุน เพราะฉะนั้นในส่วนของการลงทุน เราต้องรับความเสี่ยงจากการขาดทุนเองครับ


"เริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้... ดีกว่า รู้ตัวอีกที... แต่ไม่เหลือเวลาให้ทำแล้ว"
ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page