top of page
รูปภาพนักเขียนinvestcorner1

“เงินทุนไหลออก” (Capital flight) คืออะไร เราควรรับมืออย่างไร ?



ในฐานะนักลงทุนรายย่อยบางครั้งเราคงคุ้นเคยกับคำว่า เงินทุนไหลออก (Capital flight) กันมาบ้างไม่มากก็น้อยเพราะบ่อยครั้งการที่เราจะมองภาพเศรษฐกิจแล้วหาสินทรัพย์ดี ๆ สักตัวเพื่อลงทุนนั้น การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ก็นับว่ามีส่วนช่วยได้อย่างมากสำหรับผู้ใช้ Fund flow analysis พี่ทุยก็อยากจะมาบอกให้ฟังว่า “เงินทุนไหลออก” คืออะไร และเราควรจะรับมือกับมันอย่างไร ?

“เงินทุนไหลออก” คืออะไร ?

“เงินทุนไหลออก” คือ การเคลื่อนย้ายทุน หรือเงินทุนหนี เป็นหลายชื่อเรียกของศัพท์ Capital flight ซึ่งหมายถึง เงินทุนที่เคลื่อนย้ายออกนอกประเทศซึ่งมีได้หลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุที่ถูกพูดถึงบ่อยที่สุดคือมาจากการเก็งกำไรระยะสั้น แต่หากมองให้กว้างขึ้นอาจจะหมายถึงครอบคลุมเงินทุนทั้งหมดที่ไหลออกจากระบบเศรษฐกิจอันหนึ่ง ๆ

Capital flight นั้นถ้ามองในระดับประเทศ อีกหนึ่งสาเหตุที่นักลงทุนจะถอนเงินทุนและย้ายการลงทุนออกไปนอกประเทศหนึ่ง ๆ นั้นมักเป็นผลจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง การไม่มั่นคงและอ่อนไหวของค่าเงิน ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลงทุนนั้นลดน้อยลงและพร้อมจะย้ายเงินทุนไปยังที่ที่มีโอกาสทำกำไรได้มากกว่านั่นเอง

การลงทุนข้ามประเทศโดยนักลงทุนจากต่างชาตินั้นแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่

1. Foreign Direct Investment (FDI) คือการที่ต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนโดยตรง เช่น ตั้งบริษัท หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อย้ายฐานการผลิต ตัวอย่างเช่น บริษัท Apple เข้ามาตั้งโรงงานในจีน เป็นต้น ซึ่งทำให้นักลงทุนนั้นได้สิทธิ์เหมือนเป็นเจ้าของกิจการโดยตรง

2. Foreign Portfolio Investment (FPI) คือการที่ต่างชาตินำเงินเข้ามาซื้อหุ้นในกิจการของบริษัทในประเทศที่ตัวเองอยากจะเข้ามาลงุทุน ซึ่งแบบนี้นักลงทุนจะไม่ได้เข้าเป็นเจ้าของกิจการโดยตรง

จากข้อมูลเรื่องการเข้าลงทุนของต่างชาติทั้งสองประเภทจะเห็นได้ว่ารูปแบบแรกนั้นการเคลื่อนย้ายทุนออกนั้นเป็นไปได้ยาก การลงทุนในแบบที่สองนั้นสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่ามากจึงมักเรียกกันว่าเป็น เงินร้อนหรือ “Hot money” นั่นเอง

นักลงทุนในประเทศไทยนั้นสามารถติดตามการเคลื่อนไหวนี้คร่าว ๆได้จากการดูสรุปการซื้อขายประจำวันในหมวดของนักลงทุนต่างประเทศได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตรงนี้เองจะเป็นจุดที่นักลงทุนสายวิเคราะห์ Fund flow มองหาและนำมาวิเคราะห์กัน

ถ้าหากประเทศใดประเทศหนึ่งต้องเจอกับ Capital flight จำนวนมาก รัฐบาลจะรับมืออย่างไร ?

ในกรณีนี้ส่วนใหญ่การแก้ปัญหาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ระดับความรุนแรงของปัญหาและขีดความสามารถของรัฐบาลในการแก้ปัญหา ตัวอย่างที่โด่งดังมากชิ้นหนึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียนปี 1997 ที่ค่าเงินของประเทศเศรษฐกิจเอเชียด้อยค่าอย่างมาก นักลงทุนจึงแห่กันถอนทุนออกอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบแบบโดมิโนให้ราคาหุ้นทั่วโลกถึงกับถล่มลงบางที่มากถึง 60% เลยทีเดียว

รัฐบาลในแต่ละประเทศมีนโยบายมากมายเพื่อรับมือ Capital flight ตัวอย่างเช่น การออกมาตรการจำกัดการย้ายเงินออกนอกประเทศ แต่กรณีนี้ก็ไม่สามารถใช้ได้เสมอไปซ้ำยังทำให้นักลงทุนเกิดความตระหนก (Panic) และไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจเข้าไปอีก ซึ่งนักลงทุนบางส่วนก็หาทางออกด้วยการโอนผ่านสินทรัพย์อื่นที่ถูกรัฐบาลควบคุมได้น้อยกว่า เช่น Bitcoin เป็นต้น

มาตราการที่นิยมอีกอันคือการ “ขึ้นภาษีโอนย้ายทรัพย์สิน” ทำให้ลดแรงจูงใจในการย้ายเงินของต่างชาติ เพราะเมื่อภาษีที่มากขึ้นในการย้ายเงินทำให้ผลตอบแทนของการลงทุนที่ได้เริ่มที่จะไม่คุ้มค่า

มาตรการสุดท้ายคือการ “ขึ้นอัตราดอกเบี้ย” เพื่อทำให้การลงทุนในค่าเงินนั้น ๆ ดูน่าสนใจและได้ผลตอบแทนมากขึ้น แต่แน่นอนว่าผลกระทบที่ตามมาคือการที่ต้นทุนการส่งออกนั้นเพิ่มขึ้นและกระทบคนที่ทำธุรกิจส่งออกโดยตรงและผลกระทบอันสุดท้ายจากการขึ้นดอกเบี้ยนั้นยังนำไปสู่การเพิ่มอัตราเงินเฟ้อได้ ดังนั้นรัฐบาลต้องคิดให้รอบคอบถึงผลกระทบที่ตามมาว่าคุ้มค่าแค่ไหนกับการปกป้องไม่ให้เกิด Capital flight

ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ

ปี 2,000 ทุนสำรองระหว่างประเทศไทยล่าสุดอยู่ที่ 40 พันล้านดอลลาห์สหรัฐฯ ปี 2,005 ทุนสำรองระหว่างประเทศไทยล่าสุดอยู่ที่ 60 พันล้านดอลลาห์สหรัฐฯ ปี 2,010 ทุนสำรองระหว่างประเทศไทยล่าสุดอยู่ที่ 170 พันล้านดอลลาห์สหรัฐฯ ปี 2,015 ทุนสำรองระหว่างประเทศไทยล่าสุดอยู่ที่ 150 พันล้านดอลลาห์สหรัฐฯ ปี 2,019 ทุนสำรองระหว่างประเทศไทยล่าสุดอยู่ที่ 211 พันล้านดอลลาห์สหรัฐฯ สูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลกเลยทีเดียว

ถ้าหากเทียบกับช่วงหลายสิบปีก่อน ณ ขณะนี้เงินทุนสำรองของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าจากปี 2540 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดมา นับว่ามีความแข็งแกร่งขึ้นมากพร้อมรับมือกับการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าไม่มีใครรู้อนาคต การรักษาระดับตัวเลขนี้ให้ไม่มาก ไม่น้อยเกินไปจึงเป็นความท้าทายที่น่าติดตามต่อไปของธนาคารแห่งประเทศไทย

ดู 16 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page