top of page

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารที่ดิน





ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารสิทธิที่ดิน

1. เอกสารสิทธิในที่ดินแม้เป็นเอกสารที่ช่วยแสดงถึงการเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าบุคคลอื่นก็ตาม แต่ในทางกฎหมายแล้ว ก็ควรจะสนใจว่าถ้าหากเราปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน ถ้าเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 10 ปี และที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 5 ปีติดต่อกัน ที่ดินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของรัฐตามกฎหมาย หรือถ้าหากปล่อยให้บุคคลอื่นครอบครองโดยสงบเปิดเผย โดยมีความตั้งใจเอาเป็นเจ้าของโดยที่เราไม่ยินยอม สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินเป็นเวลา 10 ปีติดต่อกัน บุคคลที่เข้าครอบครองนั้นก็จะมีสิทธิไปดำเนินคดีทางศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นโดยการครอบครองได้ และที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 น.ส.3 ก. น.ส.3 ข) ใช้เวลาแย่งการครอบครองเพียง 1 ปีเท่านั้น ท่านก็จะเสียสิทธิ ดังนั้นเมื่อที่ดินของท่านมีเอกสารสิทธิที่ดินอยู่แล้ว ก็ควรทำประโยชน์และดูแลรักษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ดินก็จะเป็นของท่าน และเป็นมรดกที่มีค่าให้แก่ลูกหลานของเรา


2. สำหรับหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดินที่ธนาคารรับเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น โฉนดที่ดิน ,โฉนดตราจอง ,ตราจองที่ตราว่า  ได้ทำประโยชน์แล้ว หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์  สิ่งปลูกสร้าง และหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด


3. การที่ที่ดินมีเอกสารการรับรองสิทธิแต่ต่างกัน มีผลทำให้มูลค่าหรือราคาที่ดินแตกต่างกันด้วย เพราะเอกสารบางอย่างไม่มีการรับรองสิทธิอาจได้เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เช่น ที่ดินที่มีใบ ส.ค.1 โดยทั่วไป ๆ ราคาต่ำกว่าที่ดินลักษณะเดียวกันที่เป็น น.ส.3 และที่ดิน น.ส.3 ปกติจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่มีโฉนด

4. ส่วนหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ธนาคารไม่รับเป็นหลักประกัน ได้แก่หนังสือแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1) ใบจอง (น.ส.2) เพราะเป็นเอกสารที่ทางราชการอนุญาตให้ผู้มีชื่อในใบจอง เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว นอกจากนั้นยังรวมถึงหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ติดเงื่อนไขต่างๆ เช่นติดภาระการเช่าระยะยาว อยู่ในระหว่างสิทธิเก็บกิน อยู่ในระหว่างสิทธิเหนือพื้นที่ อยู่ในระหว่างขายฝาก และรวมถึงที่ดินที่มีสภาพใช้ประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินถูกเวนคืนทั้งหมด ที่ดินที่ระบุข้อห้ามจำหน่าย จ่ายโอน เว้นแต่ตกทอดทางมรดก และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี ภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายที่ดิน



5. คือ ธนาคารไม่ได้รับเอกสารสิทธิที่ดินทุกชนิดเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืม แต่มีเอกสารสิทธิหลายอย่างที่ธนาคารไม่รับเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันด้วยเช่นกัน


ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page