top of page
รูปภาพนักเขียนinvestcorner1

Update! 15 มาตรการ “แก้ปัญหาเศรษฐกิจ จาก โควิด-19 ระยะที่ 2”




จากมาตรการดูและเยียวยาทางด้านการเงิน ระยะที่ 1 อาทิ ลดเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ลดค่าน้ำค่าไฟ คืนเงินค่าประกันไฟ ที่ได้ประกาศเมื่อไม่นานมานี้ วันนี้เมื่อช่วงเวลาประมาณบ่าย 2 ได้มีการออกมาแถลงข่าวมาตราการดูแลและเยียวยาทางด้านการเงิน ในระยะที่ 2 ออกแล้วครับ รวมทั้งหมด 15 ข้อ จะมีอะไรกันบ้าง aomMONEY สรุปมาแล้วตามนี้ครับ

มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาทางการเงินสำหรับ “แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19”

แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลักดังนี้ครับ

👉 เพิ่มสภาพคล่อง

1.สนับสนุนเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน กับผู้ที่อยู่นอกประกันสังคม รวมถึงมาตรา 40 แต่ไม่รวมเกษตรกร จำนวน 3 ล้านรายเพื่อให้ประชนมีรายได้ที่จะใช้จ่ายประทันชีวิตที่มีปัญหาในขณะนี้ โดยสามารถแจ้งความประสงค์ได้ 2 ทางคือ ทางระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน .com หรือไปติดต่อที่สาขาธนาคารออมสิน ธกส. และกรุงไทย โดยใช้ระยะเวลาประมาณ T+5 (ประมาณ 5 วันหลังจากวันที่ทำเรื่องเสร็จ) โดยจะส่งเงินตรงเข้าบัญชีพร้อมเพย์หรือบัญชีธนาคารครับที่ทำการลงทะเบียนไว้ครับ เริ่มเดือนเมษายน 63 นะครับ

2.สินเชื่อฉุกเฉิน ไม่ต้องมีหลักประกัน 10,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน วงเงิน 40,000 ลบ. (ถ้าหารตามสัดส่วนคาดว่าน่าจะช่วยเหลือได้ประมาณ 4 ล้านรายครับ)

3.สินเชื่อพิเศษ แบบมีหลักประกัน 50,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยอ 0.35% ต่อเดือน วงเงิน 20,000 ลบ.

*โดยสินเชื่อในข้อ 2 และ 3 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่วงเงินข้อ 1 ไม่เพียงพอและป้องกันการไปเป็นหนี้นอกระบบ

4. สนง. ธนานุเคราะห์รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ ในอัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน วงเงิน 2,000 ล้านบาท

👉 ลดภาระ

5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปถึงสิงหาคม 63 จากที่รอบแรกขยายเวลาเสียภาษีไปถึงมิถุนายน 63

6.หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น จาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท

7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ “ค่าเสี่ยงภัย” ให้บุคคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช่แค่แพทย์พยาบาลเท่านั้นแต่ยังรวมถึง นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ที่ตรวจสอบเชื้อ COVID-19 เจ้าหนี้ที่สนับสนุนแม้แต่พนักงานขับรถที่รับตัวส่งผู้ป่วยทางรัฐบาลจะยกเว้นให้

👉 เพิ่มทักษะ

8.ฝีกอบรบมีเงินใช้ เพิ่มทักษณะอาชีพ หรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคมรวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้ ผ่านภาคีเครือข่าย เช่น มูลนิธิโครงการอันเนื่องมากจาพระราชดำริ กิงทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นต้น

มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาทางการเงินสำหรับ “ผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19”

แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลักดังนี้ครับ

👉 เพิ่มสภาพคล่อง

9.สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย 3% 2 ปีแรก วงเงิน 10,000 ลบ. โดย ธพว. เฉพาะเพื่อใหักับรายย่อยที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยงและที่เกี่ยวข้อง

👉 ลดภาระ

10.ยืดการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล

  • ภ.ง.ด. 50 จากเดิมพฤษภาคม ขยายเวลาถึง 31 สิงหาคม 63

  • ภ.ง.ด. 51 จากเดิมสิงหาคม ขยายเวลาถึง 30 กันยายน 63

11.ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ โดยยื่นแบบชำระภาษีทุกประเภทไป 1 เดือน

12.ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ ออกไป 3 เดือน (ให้เสียภาษี 15 กรกฏาคม 63)

13.ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเลื่อนการยื่นแบบชำระภาษีจากภายในวันที่ 10 เป็น 15 ของเดือนถัดไป

14.ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษา COVID-19 เป็นเวลา 6 เดือน (ถึงเดือนกันยายน 63)

15.ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Non-Bank เช่น สถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ Leasing) ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 63 ซึ่งเป็นมาตรการที่เข้ามาช่วยประชาชน โดยสนับสนุนให้ Non-Bank ช่วยยื่ดเวลาชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้กลไกทางภาษีในข้อนี้


สำหรับใครที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มาตราการในระยะ 2 นี้คงจะช่วยได้อีกระดับหนึ่งเลยนะครับ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ก็ยังไม่จบเพียงเท่านี้นะครับ ยังจะมาอีกเรื่อย ๆ เพราะกระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์พี่น้องอยู่อย่างต่อเนื่องครับ อย่างไรเราก็คอยติดตามข่าวเรื่อยๆ นะครับจากมาตรการดูและเยียวยาทางด้านการเงิน ระยะที่ 1 อาทิ ลดเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ลดค่าน้ำค่าไฟ คืนเงินค่าประกันไฟ ที่ได้ประกาศเมื่อไม่นานมานี้ วันนี้เมื่อช่วงเวลาประมาณบ่าย 2 ได้มีการออกมาแถลงข่าวมาตราการดูแลและเยียวยาทางด้านการเงิน ในระยะที่ 2 ออกแล้วครับ รวมทั้งหมด 15 ข้อ จะมีอะไรกันบ้าง aomMONEY สรุปมาแล้วตามนี้ครับ

มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาทางการเงินสำหรับ “แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19”

แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลักดังนี้ครับ

👉 เพิ่มสภาพคล่อง

1.สนับสนุนเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน กับผู้ที่อยู่นอกประกันสังคม รวมถึงมาตรา 40 แต่ไม่รวมเกษตรกร จำนวน 3 ล้านรายเพื่อให้ประชนมีรายได้ที่จะใช้จ่ายประทันชีวิตที่มีปัญหาในขณะนี้ โดยสามารถแจ้งความประสงค์ได้ 2 ทางคือ ทางระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน .com หรือไปติดต่อที่สาขาธนาคารออมสิน ธกส. และกรุงไทย โดยใช้ระยะเวลาประมาณ T+5 (ประมาณ 5 วันหลังจากวันที่ทำเรื่องเสร็จ) โดยจะส่งเงินตรงเข้าบัญชีพร้อมเพย์หรือบัญชีธนาคารครับที่ทำการลงทะเบียนไว้ครับ เริ่มเดือนเมษายน 63 นะครับ

2.สินเชื่อฉุกเฉิน ไม่ต้องมีหลักประกัน 10,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน วงเงิน 40,000 ลบ. (ถ้าหารตามสัดส่วนคาดว่าน่าจะช่วยเหลือได้ประมาณ 4 ล้านรายครับ)

3.สินเชื่อพิเศษ แบบมีหลักประกัน 50,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยอ 0.35% ต่อเดือน วงเงิน 20,000 ลบ.

*โดยสินเชื่อในข้อ 2 และ 3 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่วงเงินข้อ 1 ไม่เพียงพอและป้องกันการไปเป็นหนี้นอกระบบ

4. สนง. ธนานุเคราะห์รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ ในอัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน วงเงิน 2,000 ล้านบาท

👉 ลดภาระ

5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปถึงสิงหาคม 63 จากที่รอบแรกขยายเวลาเสียภาษีไปถึงมิถุนายน 63

6.หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น จาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท

7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ “ค่าเสี่ยงภัย” ให้บุคคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช่แค่แพทย์พยาบาลเท่านั้นแต่ยังรวมถึง นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ที่ตรวจสอบเชื้อ COVID-19 เจ้าหนี้ที่สนับสนุนแม้แต่พนักงานขับรถที่รับตัวส่งผู้ป่วยทางรัฐบาลจะยกเว้นให้

👉 เพิ่มทักษะ

8.ฝีกอบรบมีเงินใช้ เพิ่มทักษณะอาชีพ หรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคมรวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้ ผ่านภาคีเครือข่าย เช่น มูลนิธิโครงการอันเนื่องมากจาพระราชดำริ กิงทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นต้น

มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาทางการเงินสำหรับ “ผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19”

แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลักดังนี้ครับ

👉 เพิ่มสภาพคล่อง

9.สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย 3% 2 ปีแรก วงเงิน 10,000 ลบ. โดย ธพว. เฉพาะเพื่อใหักับรายย่อยที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยงและที่เกี่ยวข้อง

👉 ลดภาระ

10.ยืดการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล

  • ภ.ง.ด. 50 จากเดิมพฤษภาคม ขยายเวลาถึง 31 สิงหาคม 63

  • ภ.ง.ด. 51 จากเดิมสิงหาคม ขยายเวลาถึง 30 กันยายน 63

11.ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ โดยยื่นแบบชำระภาษีทุกประเภทไป 1 เดือน

12.ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ ออกไป 3 เดือน (ให้เสียภาษี 15 กรกฏาคม 63)

13.ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเลื่อนการยื่นแบบชำระภาษีจากภายในวันที่ 10 เป็น 15 ของเดือนถัดไป

14.ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษา COVID-19 เป็นเวลา 6 เดือน (ถึงเดือนกันยายน 63)

15.ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Non-Bank เช่น สถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ Leasing) ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 63 ซึ่งเป็นมาตรการที่เข้ามาช่วยประชาชน โดยสนับสนุนให้ Non-Bank ช่วยยื่ดเวลาชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้กลไกทางภาษีในข้อนี้


สำหรับใครที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มาตราการในระยะ 2 นี้คงจะช่วยได้อีกระดับหนึ่งเลยนะครับ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ก็ยังไม่จบเพียงเท่านี้นะครับ ยังจะมาอีกเรื่อย ๆ เพราะกระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์พี่น้องอยู่อย่างต่อเนื่องครับ อย่างไรเราก็คอยติดตามข่าวเรื่อยๆ นะครับ

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page