top of page

ข้อมูล ประเภทโบรกเกอร์ Forex (แบบชัวร์ๆ ไม่มั่วนิ่ม)


ประเภทของ โบรกเกอร์ Forex จะบอกเราได้ว่า ทำไม“บางโบรก Spread แคบ แต่เก็บค่าคอม , บางโบรก Spread กว้าง แต่ไม่เก็บค่าคอม หรือ บางโบรกมี Re-quote และ บางโบรกไม่มี Re-quote” … คำถามคือ ทำไมแต่ละโบรกไม่ทำให้เหมือนกันไปเลย ?? … ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันมีที่มา … โดยหลักๆเลย ความแตกต่างนี้มันมีจาก … ประเภทการบริการของโบรกเกอร์นั้นแตกต่างกัน … มาดูกันว่าทำไม

ประเภทโบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง ?

ประเภทของโบรกเกอร์ Forex หลักๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. Dealing Desks (DD)

  2. No Dealing Desks (NDD)

Dealing Desks (DD) หรือที่เรียกกันในอีกชื่อนึงว่า Market Makers

ส่วน No Dealing Desks (NDD) สามารถแบ่งประเภทย่อยออกมาได้อีก คือ

  • Straight Through Processing (STP) และ

  • Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP)


โบรกเกอร์ Forex Dealing Desks (DD)

โบรกเกอร์ Forex ที่ให้บริการในรูปแบบ ของ Dealing Desks (DD) หรือที่เรียกกันว่า Market makers … จะเป็นลักษณะโบรกเกอร์ที่ไม่ได้นำออเดอร์ของลูกค้าเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง โดยทางโบรกจะหาวิธีการต่างๆ เพื่อจับคู่สถานะตรงกันข้ามกับลูกค้า เช่น

  • จับคู่ออเดอร์ของลูกค้าด้วยกันเอง เช่น ลูกค้าคนนึง Long ก็หาลูกค้าอีกคนนึงที่ Short มาจับคู่กัน เป็นต้น

  • ถ้าโบรกเกอรไม่สามารถจับคู่สถานะของลูกค้ากันเองได้ ก็จะไปเทรดสถานะตรงข้ามกับลูกค้าในตลาดจริง หรือกับโบรกเกอร์อื่น เพื่อป้องกันความเสี่ยง

  • หรือว่า … รับออเดอร์ของลูกค้านั้นตรงๆ เลย ไม่ได้ไปเปิดสถานะตรงข้ามแต่อย่างใด

โดยจากตัวอย่าง 2 อันแรกข้างต้น โบรกเกอร์จะได้กำไรจากส่วนต่างของ Spread บนค่าเงินต่างๆที่เราเทรด … แต่อันหลังสุด มันประมาณว่า โบรกเกอร์พนันว่าคนที่มาเทรดสุดท้ายจะแพ้เองในที่สุด (คล้ายๆกับคาสิโนที่รับพนันกับผู้เล่นนั่นเอง)

ซึ่งถ้าพูดให้ลึกเข้าไปอีก … โดยส่วนมากวงการโบรกเกอร์ Forex มักจะทำกันอย่างงี้

เค้าจะแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็น 2 ประเภท

คือ

  1. กลุ่มลูกค้าที่สามารถทำกำไรได้จริง

  2. กลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถทำกำไรได้

ส่วนมากโบรกเกอร์จะรับออเดอร์ของกลุ่มลูกค้าที่ “ไม่สามารถทำกำไรได้” ตรงๆเลย เพราะเค้ารู้ว่าสุดท้ายแล้วกลุ่มลูกค้าพวกนี้ยังไงก็จะเจ๊ง จะสูญเสียเงินจากการเทรดทั้งหมด .. และโบรกเกอร์ก็จะได้กำไรเต็มๆ ในส่วนนี้

แต่…

ถ้าโบรกเกอร์เจอกลุ่มลูกค้าที่ “สามารถทำกำไรได้จริง” โบรกเกอร์จะพยายามจับคู่ออเดอร์ตรงกันข้ามให้ หรือว่าถ้าหาไม่ได้ ก็ไปเปิดสถานะตรงกันข้ามในตลาดจริงแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยง และกินแค่ค่า Spread แทน


แต่อย่างไรก็ดี ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารความเสี่ยงของทางตัวโบรกเกอร์เองว่าจะใช้วิธีใด ซึ่งอันนี้เราต้องไปเช็คดูว่า โบรกเกอร์ที่เราใช้อยู่เค้าใช้ลักษณะใดในการบริหารธุรกิจ


โบรกเกอร์ Forex No Dealing Desks (NDD)

ง่ายๆ เลยคือ ประเภทโบรกเกอร์ที่ “ไม่ใช่” พวก Dealing Desks นั่นเอง

โดยโบรกเกอร์ประเภทนี้จะนำคำสั่งของลูกค้ายิงเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง (ไม่มีการรับออเดอร์ลูกค้าแต่อย่างใด) เป็นเพียงตัวกลางที่จะคอยนำคำสั่งของลูกค้าไปสู่ตลาดจริงหรือที่เรียกกันว่า Interbank market* ซึ่งในนั้นจะมีผู้เล่นจริงๆ ทั้งธนาคาร , กองทุน , โบรกเกอร์ , Hedge fund , ลูกค้าจากที่ต่างๆ ที่เทรดค่าเงินจริงๆกันอยู่แล้ว ซึ่งตลาดนี้เองที่เป็นแหล่งอ้างอิงในการกำหนดมูลค่าของค่าเงินต่างๆที่โชว์ให้เราเห็นตามที่ต่างๆ ทั่วโลก

โดยโบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk นี้จะทำกำไรจากการเก็บค่าคอม (Commission) จากการเทรด หรือบวกเพิ่มส่วนต่างนิดหน่อยจาก Spread

แต่ในส่วน No Dealing Desks (NDD) ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก

คือ STP และ STP+ECN


STP คือ

STP ย่อจากมา Straight Through Processing system

โบรกเกอร์ Forex ที่ใช้ระบบ STP ในการจับคู่คำสั่งให้กับลูกค้า จะนำคำสั่งลูกค้ายิงตรงเข้าสู่ตลาดจริง (interbank market) โดยในตลาดจริงเราสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดออเดอร์กับธนาคารไหน (จริงๆต้องใช้คำว่า “ผู้ให้บริการสภาพคล่อง” หรือ “liquidity provider” เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย ขอใช้คำว่าธนาคารแทนแล้วกันนะครับ) ซึ่งแต่ละธนาคารก็มีราคา bid กับ ask ที่แตกต่างกันออกไป เช่น


โดยทางระบบ STP จะจัดเรียง Bid กับ Ask ที่ดีที่สุดให้กับทางโบรกเกอร์ จากตัวอย่างข้างต้นนี้ Bid ที่ดีที่สุดคือ 1.4000 (เวลาขาย หรือ Short ก็ต้องการราคาสูงที่สุดใช่ไหมละครับ) ส่วน Ask ที่ดีที่สุดคือ 1.4001 (เวลาซื้อ หรือ Long ก็ต้องการราคาที่ต่ำที่สุด)

ดังนั้น Bid/Ask ที่ดีที่สุดคือ 1.4000/1.4001

… และคำถามถัดมาคือ โบรกเกอร์เค้าจะเอา Bid/Ask ตัวนี้มาให้เราเทรดกันใช่ไหม ??

คำตอบคือ ไม่ครับ!

เพราะถ้าโบรกเกอร์เค้าเอา Bid/Ask ดังกล่าวมา เค้าก็จะไม่ได้กำไรอะไรเลย

โดยปกติเค้าจะเพิ่ม Bid/Ask เข้าไปฝั่งละ 1 pip (Bid ลด 1 pip , Ask เพิ่ม 1 pip) เพื่อกินกำไรส่วนต่างนี้

… ดังนั้นโบรกเกอร์จะแสดงค่า Bid/Ask อยู่ที่ 1.3999/1.4002 ในโปรแกรมเทรด

จากตัวอย่างเดิม สมมติ ลูกค้าที่เป็นเทรดเดอร์สั่งเปิด Long EUR/USD จำนวน 1 lot (Standard : 100,000 units) ก็ต้องซื้อฝั่ง Ask ใช่ไหมละครับ ก็คือ 1.4002

เมื่อลูกค้าซื้อ EUR/USD ที่ 1.4002 ทางโบรกเกอร์จะยิงคำสั่งตรงไปยังธนาคารที่มีแสดงค่า Ask ต่ำที่สุด ณ ตอนนั้น จากตัวอย่างนี้คือธนาคาร A กับ B ณ ที่ระดับ 1.4001 (ในกรณีนี้ทางโบรกเกอร์จะเลือกธนาคารไหนก็ได้ เพราะ Ask ดีที่สุดเท่ากัน)

… ซึ่งจะเห็นได้ว่าโบรกเกอร์จะกำไร 1 pip จากการสั่งคำสั่งของเทรดเดอร์ในครั้งนี้


*ทั้งนี้ STP ก็อาจมีการ Re-quote เกิดขึ้นได้ (พวกประเภทบัญชีที่เป็น Instant Execution) ซึ่งถ้าโบรกเกอร์จับคู่คำสั่งไม่ทันกับทาง “ผู้ให้บริการสภาพคล่อง” หรือ “liquidity provider” … ซึ่งปกติเกิดขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับพวก Dealing Desk

โบรกเกอร์ส่วนมากมักจะแบ่งประเภทบัญชีตามการสั่งคำสั่งออเดอร์เป็น 2 แบบ คือ

  1. Instant Execution

หมายถึงออเดอร์จะถูกดำเนินการตามราคาที่ลูกค้าส่งคำสั่ง โดยหากราคาตรงกับราคาตลาดในปัจจุบันออเดอร์นั้นก็จะเปิดทันที  แต่หากว่าราคาที่ลูกค้าขอเปิดคำสั่งซื้อนั้น ไม่ตรงกับราคาตลาดในปัจจุบัน ลูกค้าจะได้รับ Requote

  1. Market Execution

หมายถึงออเดอร์จะถูกดำเนินการที่ราคาที่มีในตลาด ซึ่งลูกค้าจะไม่ได้รับ Requote ทั้งนี้ราคาอาจไม่ตรงตามที่ลูกค้าต้องการดังนั้นจึงอาจเกิด Slippage ซึ่งหมายถึงความต่างของราคาที่ลูกค้าส่งและราคาที่ถูกดำเนินการ


Tip : ในการเลือกโบรกเกอร์ที่เป็น STP มี 3 สิ่งที่ต้องดูคือ
  1. จำนวน Liquidity providers ที่โบรกเกอร์มีอยู่ในมือ

            ยิ่งมีมากยิ่งดี ก็เพราะว่าทางโบรกจะได้เลือกค่า Bid/Ask ที่ดีที่สุดมาได้ และสุดท้ายทำให้ Spread แคบลง ซึ่งเป็นผลดีต่อลูกค้า

            … เลือก Broker ที่มี Liquidity providers อยู่ในมือมากๆ

  1. ประเภทของ Spread (Fixed หรือ Variable)

            ปกติโบรก STP ที่มีประเภท Spread เป็นลักษณะ Variable จะเทียบเท่ากับประเภท ECN เลย (ต่างกันแค่ STP ยิงคำสั่งต่อให้ Liquidity providers แต่ ECN ยิ่งคำสั่งเข้าตลาดตรงๆ) โดย Spread จะถูกเปลี่ยนแปลงตาม Bid/Ask ของทาง Liquidity providers และอาจมีบวกเพิ่มนิดหน่อย เพื่อให้โบรกเกอร์ได้กำไร

            ส่วนโบรกที่ Spread เป็น Fixed คือจะล๊อคค่า Spread ให้คงที่ ไม่ได้ปรับตามกับ ทาง Liquidity providers ซึ่งปกติการ Fixed ค่า Spread นั้น มักจะมี Spread ที่กว้างกว่าพวก Variable

(โบรกเกอร์จะแปลงความผันผวนของ Bid/Ask ที่มาจาก Liquidity providers ให้มาอยู่ในรูปแบบคงที่ หรือ Fixed ซึ่งการทำอย่างนี้โบรกเกอร์ก็ต้องบวกค่าความเสี่ยงในการผันผวนของ Bid/Ask ที่ได้รับมาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ทำให้แบบ Fixed ส่วนมากค่า Spread จะห่างกว่า แบบ Variable)

            … เลือกประเภท Spread ที่เป็นลักษณะ Variable ส่วนมากจะดีกว่า

  1. การดำเนินคำสั่งของออเดอร์ (instant หรือ market execution)

ประเภทที่เป็นลักษณะ Market execution หรือที่เรียกันว่า DMA (Direct Market Access) STP จะเป็นการยิงออเดอร์ของลูกค้าตรงไปที่ LPs (Liquidity providers) โดยจะดำเนินการหาราคาที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า (บวกเพิ่ม Spread นิดหน่อยเพื่อเป็นกำไรให้กับตัวโบรกเกอร์เอง) … ซึ่งลักษณะนี้จะไม่เกิดการ Requote เกิดขึ้น แต่อาจมี Slippage บ้างเล็กน้อยกรณีช่วงตลาดผันผวน

            แต่ในส่วนของ Instant execution จะเป็นลักษณะที่ว่า โบรกเปิดสถานะตรงกันข้ามกับลูกค้า คือ โบรกเกอร์รับคำสั่งจากลูกค้ามาก่อน แล้วค่อยไปเปิดสถานะตรงข้ามกับ LPs (Liquidity providers) เพื่อป้องกันความเสี่ยง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดการ Lag อยู่นิดหน่อย (ระยะเวลาการส่งคำสั่งมากกว่า Market execution) และวิธีนี้สามารถเกิดการ Requote เกิดขึ้นได้ หากเกิดกรณีที่ว่าโบรกเกอร์รับออเดอร์จากลูกค้ามา แล้วไม่สามารถจับคู่กับ LPs (Liquidity providers) ได้ ซึ่งการที่โบรกเกอร์จับคู่ไม่ได้นั้นมาจากการที่โบรกเกอร์ไม่สามารถหาส่วนต่างระหว่าง ออเดอร์ของลูกค้า กับทาง LPs (Liquidity providers) ได้นั่นเอง

            ข้อเสียของการ Requote ในส่วนมากมักกระทบกับเทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Scalping ในการเทรดหรือรัน EA ที่เทรดสั้นๆ ในช่วงที่ราคาเป็นลักษณะ Spike หรือไส้ยาวๆ เป็นช่วงที่ราคาผันผวนเร็วๆ โดยจะกินกำไรไม่กี่ pips ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งถ้าใครไป Backtesing กลยุทธ์อาจจะกำไรจริง แต่พอมารันในตลาดจริง ถ้าโดน Re-quote จากทางโบรกเกอร์ ก็จะเสียโอกาสในการทำกำไรช่วงจังหวะดังกล่าว

            … เลือกแบบ Market execution ส่วนมากจะดีกว่า เหมาะกับการเทรดทุกกลยุทธ์

แล้ว ECN คือ ?

จะคล้ายๆ กับ DMA (Direct Market Access) STP แต่ ECN จะมีความแตกต่างคือ DMA STP โบรกเกอร์จะยิงออเดอร์ของลูกค้าไปยังพวก LPs (Liquidity providers) ที่โบรกเกอร์มีอยู่ แต่บนระบบ ECN ลูกค้าสามารถยิงออเดอร์ตัวเองไปยังผู้เล่นคนอื่นในตลาดจริงๆเลย

โดยบนระบบ ECN มีผู้เล่นทั้ง ธนาคาร, กองทุน, Hedge fund, รายใหญ่, รายย่อย รวมถึงโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เทรดกันอยู่บนระบบนี้ ซึ่งการเทรดบนระบบนี้เทรดเดอร์จะได้ค่า Spread ที่ดีมากๆ ได้ Bid ที่ดีที่สุด ได้ Ask ที่ดีที่สุด เพราะมันเป็นตลาดจริงๆที่เทรดกันอยู่

คำถามสำคัญคือ แล้วโบรกจะได้กำไรจากไหน ??

กำไรที่โบรกจะได้ก็คือ การเก็บค่าคอมแทนนั่นเองครับ (Commission)

ที่สำคัญสุดของ ECN คือ ไม่มีการ Re-quote ครับ


คำถามสำคัญที่สุดคือ “แล้วเราควรเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหน ??”

ต้องบอกก่อนว่า แต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียของตัวมันเอง ไม่ได้มีดีที่สุด … มันจะขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดของเทรดเดอร์มากกว่า

บางโบรกที่มี Spread แคบ แต่มีค่าคอมในการเทรด ก็จะเหมาะสมเทรดเดอร์ที่เทรดลักษณะเล่นสั้นๆ (พวก Day trade , Scalping เป็นต้น) ส่วนบางโบรกมี Spread ที่กว้างหน่อย แต่ไม่มีการเก็บค่าคอม ก็อาจจะเหมาะกับเทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาวขึ้นมาหน่อย (พวก Trend-following, Swing trading , Position trading เป็นต้น)

มาดูสรุปของประเภทโบรกเกอร์แต่ละอันกัน

Dealing Desk , No Dealing Desk (STP) และ No Dealing Desk (STP+ECN)


ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page