หากคุณยังเป็นเทรดเดอร์มือใหม่อยู่ คุณอาจจะเกิดคำถามที่ว่า Leverage คืออะไร เพราะคำว่า "เลเวอเรจ" เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับ Forex มาโดยตลอด แต่คำว่า Leverage ถูกใช้ในหลายๆ บริบท และถูกใช้ในหลายๆ ผลิตภัณฑ์การเงินไม่ใช่แค่ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราแห่งนี้เท่านั้น เพราะ Leverage Forex เป็นเพียงส่วนย่อยๆ ของโลกแห่ง "Financial Leverage" อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้กันว่า สรุปแล้ว "เลเวอเรจ คืออะไร" การใช้ "เลเวอเรจ" ในตลาด Forex มีประโยชน์อย่างไรต่อการเทรด พร้อมด้วยคำอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับ "ข้อดีและข้อเสีย" ของการใช้ Leverage Forex
Leverage คืออะไร : Forex: เลเวอเรจคืออะไร
Leverage หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า "เลเวอเรจ" คือเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยให้นักลงทุน สามารถ "เพิ่มผลลัพธ์" หรือขนาดของการลงทุนได้มากกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่จริงๆ ถูกใช้มากในตลาดซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็น Leverage Forex, Leverage Commodity
สำหรับวงการเทรดแล้ว นี่หมายความว่าคุณจะสามารถเข้าซื้อขายในตลาดได้มากขึ้นจากเงินลงทุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งต่างจากการลงทุนแบบดั้งเดิมที่ต้องมีเงินลงทุนตามจริงสำหรับขนาดการลงทุนที่ต้องการ จึงกล่าวได้ว่าเลเวอเรจให้ประโยชน์จากการที่คุณจะได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้นจากการใช้เงินลงทุนเพียงนิดเดียว แต่ยังมีเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบด้วยว่านี่ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในทางการเงิน หากคุณทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาลงทุน ก็จะทำให้คุณทำเงินได้เพิ่มมากขึ้นด้วยจากพลังซื้อที่เพิ่มขึ้น เมื่อคุณคืนเงินที่กู้ยืมมา คุณก็จะมีเงินเหลือเพิ่มขึ้นจากตอนที่คุณลงทุนด้วยเพียงจำนวนเงินทุนที่ตนเองมีอยู่ก่อนทำการกู้ยืม
ลองมาดูรายละเอียดของเลเวอเรจในด้านการเงิน, Forex และในวงการเทรดกันสักนิด
Leverage Forex: เลเวอเรจด้านการเงิน (Financial Leverage) คืออะไร
เลเวอเรจในทางการเงินจะเป็นการกู้ยืมเงินหรือการก่อหนี้เพื่อนำไปซื้อสินทรัพย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เงินทุนของตนเองมากเกินไป สัดส่วนของหนี้ต่อเงินทุนก็คือสูตรของเลเวอเรจนั่นเอง (หนี้/เงินทุน) ในขณะที่ยิ่งสัดส่วนของหนี้สินมีมากเท่าไหร่ ปริมาณเลเวอเรจก็จะสูงขึ้นเท่านั้น หากบริษัท, การลงทุน หรือทรัพย์สินหนึ่ง ๆ ถูกจัดให้มี "เลเวอเรจสูง" แสดงว่ามีสัดส่วนหนี้มากกว่าเงินทุน หากหนี้ที่กู้ยืมมานั้นถูกนำไปใช้ให้เกิดผลตอบแทนที่มากกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย แสดงว่านักลงทุนนั้น ๆ อยู่ในสถานะที่ได้เปรียบ
แต่การใช้เลเวอเรจที่มากเกินไปมักจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเสมอ เพราะมีความเป็นไปได้ที่คุณจะไม่สามารถจ่ายคืนเลเวอเรจนั้น ๆ ได้
(โปรดทราบว่าเลเวอเรจที่แสดงใน Trades 2 และ 3 จะใช้ได้สำหรับลูกค้ามืออาชีพเท่านั้น ลูกค้ามืออาชีพคือลูกค้าที่มีประสบการณ์, ความรู้ และความเชี่ยวชาญในการตัดสินใจลงทุนและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง สำหรับการเปลี่ยนสถานะของตนเองให้เป็นลูกค้ามืออาชีพ จะต้องเป็นไปตามกฎข้อบังคับ MiFID II 2014/65/EU Annex II)
เลเวอเรจด้านการเงินจะแตกต่างจากเลเวอเรจจากการดำเนินงานหรือการใช้ต้นทุนคงที่ โดยเลเวอเรจจากการดำเนินงานของธุรกิจหนึ่ง ๆ จะถูกคำนวณเป็นยอดสุทธิของปริมาณต้นทุนคงที่ ซึ่งยิ่งต้นทุนคงที่มีปริมาณมากเท่าไหร่ เลเวอเรจจากการดำเนินงานก็จะสูงขึ้นเท่านั้น เมื่อผนวกรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันก็จะได้เป็นค่าเลเวอเรจโดยรวม แล้วเลเวอเรจมีส่วนอย่างไรในการดำเนินธุรกิจ นั่นก็คือมันจะถูกนำมาใช้เป็นเงินทุนสำหรับขยายธุรกิจ, เริ่มธุรกิจ หรือซื้อสินทรัพย์ นอกจากนี้ธุรกิจหนึ่ง ๆ ยังสามารถใช้เลเวอเรจในการเพิ่มเงินทุนจากนักลงทุนที่ร่วมลงทุนอยู่แล้วได้ด้วย
Leverage Forex: ทำไมต้องใช้เลเวอเรจด้านการเงิน
การใช้เลเวอเรจมีจุดประสงค์พื้นฐานดังต่อไปนี้
เพื่อขยายฐานสินทรัพย์ของบริษัทหรือส่วนบุคคลและเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยความเสี่ยง หมายความว่าจะมีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และผลกำไรต่อหุ้นที่เพิ่มขึ้น
เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร
เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเสียภาษี เนื่องจากในหลาย ๆ ประเทศนั้นค่าใช้จ่ายที่เป็นดอกเบี้ยจะสามารถนำไปหักภาษีได้ ดังนั้นปริมาณสุทธิของภาษีที่ต้องเสียจึงลดลง
Leverage Forex: เงินทุนที่มีเลเวอเรจ (Leveraged Equity)
เมื่อค่าใช้จ่ายสำหรับหนี้สินต่ำ เงินทุนที่มีเลเวอเรจก็จะเพิ่มผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้ ดังนั้นเมื่อคุณเข้าถือหุ้นในบริษัทหนึ่ง ๆ ซึ่งมีมูลค่าหนี้สินจำนวนหนึ่ง (เลเวอเรจด้านการเงิน) คุณก็จะมีเงินทุนที่มีเลเวอเรจ ซึ่งจะมีปริมาณความเสี่ยงพอ ๆ กับหนี้สินที่มีเลเวอเรจด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับทั้งประโยชน์และเสียค่าใช้จ่ายจากการใช้เงินทุนที่มีเลเวอเรจนั้น ๆ
Leverage Forex: การเทรดด้วยเลเวอเรจ
การเทรดด้วยเลเวอเรจจะเปิดโอกาสให้คุณสามารถเทรดได้ด้วยมูลค่าที่มากขึ้นมากด้วยเงินฝากในบัญชีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การเทรดด้วยเลเวอเรจนั้นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการเทรดด้วยเงินประกัน (Margin trading) คุณสามารถเปิดบัญชีด้วยเงินเล็กน้อยกับโบรกเกอร์ แล้วจากนั้นก็ทำการกู้ยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อนำมาเปิดสถานะซื้อขายขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเพิ่มมูลค่าผลกำไรที่น่าจะได้ขึ้นมาแบบทวีคูณ
แต่ควรพึงระวังไว้ว่านี่ก็จะอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียมากขึ้นแบบทวีคูณด้วยเช่นกัน เลเวอเรจในตลาดหุ้นจะรวมถึงการเทรดหุ้นด้วยเงินทุนจำนวนเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นในเลเวอเรจ Forex ด้วยเช่นกัน โดยเทรดเดอร์จะสามารถเปิดสถานะซื้อขายสกุลเงินในขนาดที่ใหญ่กว่าเงินทุนคงเหลือในบัญชีของตนเอง
คุณควรทราบด้วยว่าเลเวอเรจไม่ได้เพิ่มโอกาสในการทำกำไรในการเทรด แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดปริมาณเงินทุนที่คุณจะต้องนำไปใช้ลงทุน การเทรดด้วยเลเวอเรจยังถือเป็นดาบสองคม บัญชีที่มีการใช้เลเวอเรจสูงจะได้รับผลกระทบจากการแกว่งของราคาอย่างรุนแรง และยังทำให้โอกาสที่จะต้องใช้จุดหยุดขาดทุนเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องนำการบริหารความเสี่ยงเข้ามาใช้เมื่อเทรดด้วยเลเวอเรจ
เลเวอเรจ Forex คืออะไร
เลเวอเรจด้านการเงินเป็นเครื่องมือในการเพิ่มความสามารถของบัญชีลงทุนสำหรับเทรดเดอร์ Forex ด้วยเลเวอเรจ Forex เทรดเดอร์จะสามารถเปิดออเดอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเงินทุนที่มีอยู่จริงได้มากถึง 1,000 เท่าเลยทีเดียว หรือจะให้พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือเลเวอเรจคือวิธีที่เทรดเดอร์จะสามารถทำกำไรได้ในปริมาณที่มากกว่าตอนที่ใช้เงินทุนที่มีอยู่จริงในการเทรด มีเทรดเดอร์ที่สนใจเข้ามาเทรด FX (หรือ Forex หรือตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ) มากขึ้นทุกวัน
การเทรดเงินตราต่างประเทศออนไลน์ถือเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น และยังเป็นตลาดที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่เข้าถึงได้ แม้ว่าแต่ละคนจะมีเหตุผลส่วนตัวในการเข้าเทรดตลาด Forex แต่ความสามารถในการใช้เลเวอเรจด้านการเงินในการเทรด Forex ได้นั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่เลือกที่จะเทรดในตลาด FX
เมื่อคุณเข้าไปดูเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการเทรดโดยเฉพาะ คุณอาจจะได้เห็นแบนเนอร์โฆษณาต่าง ๆ ที่ให้ข้อเสนออย่าง "เทรดด้วยล็อตขนาด 0.01, ECN และเลเวอเรจ 500:1" ซึ่งเงื่อนไขสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจไม่ชัดเจนเท่าที่ควรสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่อย่างคุณ ดังนั้นการขอคำอธิบายเกี่ยวกับเลเวอเรจ Forex จึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
แม้ว่าเราจะได้อธิบายเกี่ยวกับเลเวอเรจไปบ้างแล้ว แต่ลองมาดูในรายละเอียดที่มากขึ้นอีกสักหน่อยดีกว่า
เทรดเดอร์หลาย ๆ คนให้คำจำกัดความของเลเวอเรจไว้ว่าเป็นเครดิตหรือสินเชื่อที่โบรกเกอร์ให้บริการกับลูกค้าของตน ซึ่งนี่อาจไม่ตรงซะทีเดียว เพราะเลเวอเรจไมได้มีคุณสมบัติเหมือนกับสินเชื่อ ประการแรกเลยก็คือเมื่อคุณเทรดด้วยเลเวอเรจ คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินที่ยืมมาใด ๆ คืนเหมือนกับสินเชื่อ แต่คุณจะต้องปิดสถานะ หรือเปิดสถานะเอาไว้จนกว่าจะถูกปิดโดยอัตโนมัติเมื่อมีการเรียกเงินประกันเพิ่ม (Margin call) หรือจะให้พูดง่าย ๆ ก็คือไม่มีเส้นตายกำหนดว่าจะต้องจัดการกับเลเวอเรจที่ให้บริการโดยโบรกเกอร์เมื่อไหร่
นอกจากนั้นแล้วยังไม่มีการคิดดอกเบี้ยสำหรับเลเวอเรจด้วย แต่จะมีการเรียกเก็บสว็อป FX (FX swap) แทนซึ่งมักจะเป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อมีการเปิดสถานะข้ามคืน แต่การชำระค่าสว็อปจะต่างจากการกู้ยืมเงินทั่ว ๆ ไป คือสว็อปจะยังถือเป็นกำไรสำหรับเทรดเดอร์ กล่าวโดยสรุปก็คือเลเวอเรจเป็นเครื่องมือหนี่งที่ช่วยเพิ่มขนาดสถานะซื้อขายให้มากที่สุดที่เทรดเดอร์คนหนึ่งจะสามารถเปิดได้ ต่อไปเราจะไปดูตัวอย่างในการเทรดเลเวอเรจ Forex เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
สัมมนาออนไลน์ด้านการเทรดฟรีกับ Admiral Markets
หากคุณเพิ่งเริ่มเทรด Forex หรือกำลังมองหาไอเดียใหม่ ๆ มาช่วยในการเทรดอยู่ละก็ สัมมนาออนไลน์ด้านการเทรดฟรีของเราคือที่ที่ดีที่สุดซึ่งคุณสามารถเรียนรู้เรื่องการเทรดได้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการเทรดมืออาชีพ เรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนในการใช้กลยุทธ์การเทรดและอินดิเคเตอร์ในการเทรดที่ดีที่สุด พร้อมข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตลาดล่าสุด คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อลงทะเบียนสัมมนาออนไลน์ด้านการเทรดฟรีกับเราได้เลย
เลเวอเรจ Forex มีหลักการอย่างไร
สมมติว่าเทรดเดอร์คนหนึ่งมีเงินทุนในบัญชีเทรดอยู่ 1,000 USD โดยทั่วไปแล้ว '1 ล็อต' ใน MetaTrader 4 จะเท่ากับ 100,000 หน่วยสกุลเงิน ที่ Admiral Markets คุณสามารถเลือกเทรดแบบมินิล็อต (Mini lot) และไมโครล็อต (Micro lot) ได้ และในที่นี้ปริมาณเงินฝากที่เทรดเดอร์มีจะสามารถเปิดเทรดแบบไมโครล็อตได้ (0.01 ของ 1 ล็อตหรือ 1,000 หน่วยสกุลเงิน) โดยที่ยังไม่มีการใช้เลเวอเรจ โดยปกติแล้วเทรดเดอร์จะตั้งเป้าผลตอบแทนให้ได้ราว ๆ 2% ต่อเทรดซึ่งจะเท่ากับ 20 USD
เพราะผลตอบแทนที่น้อยเช่นนี้จึงเป็นสาเหตุที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ตัดสินใจที่จะเพิ่มปริมาณในการลงทุนเข้าไปอีก โดยใช้เลเวอเรจด้านการเงินนั่นเอง ซึ่งจะเพิ่มขนาดของสถานะของการเทรดและผลกำไรที่จะทำได้ก็จะสูงขึ้นด้วย สมมติว่าเทรดเดอร์มีเงินลงทุนในบัญชีอยู่ 1,000 USD และต้องการเทรดในสถานะที่ใหญ่ขึ้น โดยมีโบรกเกอร์ให้บริการเลเวอเรจอยู่ที่ 1:500 หมายความว่าเทรดเดอร์คนนั้นจะสามารถเปิดสถานะเทรดที่ใหญ่ขึ้นได้ถึง 5 ล็อตด้วยหน่วยสกุลเงิน USD หรือถ้าแสดงเป็นสูตรเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ เงินทุน 1,000 USD x 500 (เลเวอเรจ) จะเท่ากับสามารถเทรดด้วยสถานะสูงสุดได้ถึง 500,000 USD นั่นเอง เทรดเดอร์สามารถเปิดคำสั่งด้วยปริมาณเงินที่มากกว่าเงินลงทุนที่มีอยู่จริงได้ถึง 500 เท่าเลยทีเดียว
ด้วยวิธีการดังกล่าวหากมีการใช้เลเวอเรจที่ 1:500 เทรดเดอร์จะสามารถทำกำไรได้ 500 USD จากเดิมที่จะได้แค่ 1 USD เท่านั้น แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เทรดเดอร์จะต้องทำความเข้าใจด้วยว่าตนเองก็สามารถสูญเสียเงินลงทุนไปได้อย่างรวดเร็วและมากมายพอ ๆ กับโอกาสที่จะทำกำไรได้ด้วยเช่นกัน เมื่อคุณพอจะเข้าใจความหมายและกลไกการทำงานของเลเวอเรจแล้ว ตอนนี้เรามาวิธีการใช้เลเวอเรจกันอย่างละเอียดดีกว่า และมาเรียนรู้ด้วยกันถึงระดับเลเวอเรจที่เหมาะสมสำหรับการเทรด Forex ซึ่งที่ Admiral Markets เราให้บริการด้านเลเวอเรจที่หลากหลายขึ้นอยู่กับสถานะของลูกค้าโดยอ้างอิงจากข้อกำหนด Admiral Markets Pro
สำหรับลูกค้ารายย่อยจะสามารถใช้เลเวอเรจได้สูงสุดถึง 1:30 สำหรับการเทรดคู่สกุลเงินและสูงสุดถึง 1:20 สำหรับดัชนี ส่วนลูกค้ามืออาชีพจะสามารถใช้เลเวอเรจได้สูงสุดถึง 1:500 สำหรับคู่สกุลเงิน, ดัชนี, สินค้าด้านพลังงานและโลหะมีค่า ทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้ามืออาชีพต่างก็มีสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับแตกต่างกันไป จึงควรจะศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเทรด ลองเช็คดูว่าคุณมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดลูกค้ามืออาชีพหรือไม่ หากใช่ คุณก็จะสามารถเพิ่มขนาดการเทรดของคุณให้มากขึ้นได้ และยังเลือกใช้เลเวอเรจได้ตามต้องการอีกด้วย
จะใช้เลเวอเรจ Forex แบบไหนดีในการเทรด Forex
ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะบอกได้ว่าระดับเลเวอเรจไหนที่เหมาะสมกับการเทรด เพราะตามหลักแล้วจะต้องดูตามกลยุทธ์การเทรดของเทรดเดอร์แต่ละคน รวมถึงการคาดการณ์ทิศทางตลาดด้วย แต่กฎเหล็กในการใช้เลเวอเรจ Forex ก็คือยิ่งคุณเปิดสถานะไว้นานเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องเลือกใช้เลเวอเรจที่ต่ำมากเท่านั้น ซึ่งถือว่าสมเหตุสมผล เพราะการเปิดสถานะเทรดไว้นาน ๆ มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดการเคลื่อนไหวในตลาดอย่างมาก แต่คุณก็ต้องระวังไม่ให้เกิด 'Stopped Out' (ออเดอร์ทั้งหมดในบัญชีถูกปิดอัตโนมัติเนื่องจากมาร์จิ้นเหลือต่ำกว่าที่กำหนด) จากความผันผวนของตลาดด้วย
ในทางกลับกันเมื่อเทรดเดอร์เปิดสถานะคำสั่งเพียงแค่ไม่กี่นาทีหรือไม่กี่วินาที พวกเขามักจะตั้งเป้าที่จะทำกำไรให้ได้มากที่สุดในช่วงเวลาที่จำกัด แล้วค่าเลเวอเรจแบบไหนที่ดีที่สุดในกรณีนี้ แน่นอนว่าคนที่มุ่งทำกำไรมาก ๆ ก็จะเลือกใช้เลเวอเรจสูง หรือในบางกรณีอาจเลือกใช้เลเวอเรจสูงสุดเพื่อให้แน่ใจว่าได้เปิดสถานะที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเทรดเดอร์มักจะตัดสินใจเทรดเช่นนี้เมื่อเกิดความผันผวนในตลาดต่ำ
จากตรงนี้เราจะเห็นได้ว่าสัดส่วนเลเวอเรจ Forex ที่เลือกใช้จะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเทรดที่ใช้เป็นหลัก เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ลองดูตัวอย่างของเทรดเดอร์แบบ Scalping และ Breakout ที่เลือกใช้เลเวอเรจสูงที่สุดเท่าที่จะใช้ได้ในการเทรด เพราะต้องการทำการเทรดในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ส่วนเทรดเดอร์แบบ Position มักจะเทรดด้วยเลเวอเรจต่ำหรือไม่ใช้เลย ค่าเลเวอเรจที่เทรดเดอร์แบบ Position ชอบใช้มักจะเริ่มจาก 5:1 และเพิ่มขึ้นไปจนถึง 20:1
เมื่อเทรดแบบ Scalping เทรดเดอร์มักจะเลือกใช้เลเวอเรจโดยเริ่มตั้งแต่ 50:1 เรื่อยไปจนถึง 500:1 ความเข้าใจในเรื่องของผลลัพธ์จากการใช้เลเวอเรจและการเทรดด้วยสัดส่วนเลเวอเรจ Forex ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับกลยุทธ์การเทรดที่ประสบความสำเร็จ เพราะคุณคงไม่อยากจะเทรดมากเกินตัว แต่สิ่งที่ต้องทำคือทำกำไรให้ได้มากที่สุดจากการเทรดแต่ละครั้ง เราแนะนำให้เทรดเดอร์ทดลองใช้เลเวอเรจในกลยุทธ์การเทรดของตนไปสักพักก่อนเพื่อหาระดับเลเวอเรจที่เหมาะกับตนเองที่สุด
ข้อเสนอจากโบรกเกอร์ Forex
สำหรับโบรกเกอร์ฟิวเจอร์สและหุ้นแล้วจะให้บริการเลเวอเรจที่ค่อนข้างน้อยหรือไม่มีเลย แต่โบรกเกอร์ Forex นั้นจะให้บริการที่มากกว่ากับเทรดเดอร์ จึงทำให้เทรดเดอร์สามารถเพิ่มความสามารถในการเทรดได้อย่างเต็มที่ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะระบุได้ว่าขนาดเลเวอเรจขนาดไหนที่เทรดเดอร์ Forex ควรเลือกใช้ แต่โบรกเกอร์ Forex ส่วนใหญ่ก็จะมีให้บริการเลเวอเรจตั้งแต่ 100:1 และเพิ่มขึ้นไปจนถึงประมาณ 200:1 นอกจากนี้ยังมีโบรกเกอร์บางรายที่ให้บริการเลเวอเรจมากถึง 500:1 ด้วย
จะมีน้อยมากที่โบรกเกอร์จะให้คุณเปิดบัญชีซึ่งมีบริการเลเวอเรจได้มากถึง 1,000:1 ซึ่งก็คงมีเทรดเดอร์ไม่มากนักที่จะเพิ่มขนาดสถานะเทรดให้มากขึ้นถึงขนาดนั้น
จะเปลี่ยนเลเวอเรจ Forex อย่างไร
เมื่อคุณเริ่มเทรดกับโบรกเกอร์ Forex หนึ่ง ๆ แล้ว คุณอาจจะต้องการปรับเลเวอเรจให้เหมาะสมกับการเทรดของคุณ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ที่คุณใช้บริการด้วย ที่ Admiral Markets คุณสามารถปรับค่าเลเวอเรจได้โดยใช้ขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานของเราซึ่งมีทั้งการยืนยันตัวตนกับ Trader's Room, การเลือกประเภทบัญชี และการเปลี่ยนค่าเลเวอเรจที่ต้องการใช้ ซึ่งจะมีผลทันที ดังนั้นคุณจึงต้องมีความรอบคอบยิ่งขึ้นหากคุณต้องการลดค่าเลเวอเรจที่ใช้แต่ยังมีสถานะคำสั่งที่เปิดทิ้งไว้อยู่
อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องทราบด้วยก็คือเลเวอเรจนั้นจะผูกติดอยู่กับจำนวนเงินลงทุนในบัญชี ดังนั้นบางครั้งเมื่อคุณฝากเงินเพิ่มเติมเข้าไปในบัญชี เลเวอเรจในการเทรดสกุลเงินก็อาจถูกลดตามลงไปด้วย ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์อาจจะให้บริการเลเวอเรจ 1:500 สำหรับเงินฝากที่ต่ำกว่า 1,000 USD และเลเวอเรจ 1:200 สำหรับเงินฝากตั้งแต่ 1,000 USD ถึง 5,000 USD
เมื่อเทรดเดอร์มีเงินในบัญชีคงเหลือ 950 USD และเปิดสถานะคำสั่งเทรด EURUSD จำนวน 3 ล็อต เทรดเดอร์นั้นอาจจะต้องฝากเงินเพิ่มเข้าไปเพื่อให้เพียงพอกับมาร์จิ้นหรือเงินประกันที่กำหนด และเมื่อมีการฝากเงินเกิดขึ้น ค่าเลเวอเรจก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย และสถานะคำสั่งอาจถูกปิดหากเงินในบัญชีถึงระดับ 'Stop Out'
บทสรุป: เลเวอเรจ Forex
เราหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อย และคุณน่าจะพอเข้าใจถึงหลักการเพิ่มความสามารถในการเทรด, วิธีการคำนวณค่าเลเวอเรจ Forex และมันมีทั้งประโยชน์และอาจเป็นอันตรายต่อกลยุทธ์การเทรดของคุณได้ด้วย สิ่งสำคัญก็คือการเทรด Forex ด้วยเลเวอเรจนั้นเป็นกระบวนการที่มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก และเงินทุนในบัญชีของคุณก็อาจลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทรดด้วยค่าเลเวอเรจสูง พยายามหลีกเลี่ยงการเทรดด้วยเลเวอเรจหรือเลเวอเรจสูงจนกว่าคุณจะมีประสบการณ์มากพอในการเทรด
Comments